ReadyPlanet.com
dot
dot
บริการที่เรานำเสนอ
dot
bulletมายากลเวทีปกติ
bulletมายากลอิลลูชั่น
bulletมายากลสตรีท
bulletเมจิคแดนซ์
bulletออกแบบมายากล
bulletเวิร์คช็อปมายากล
bulletตัวตลก โบโซ่
bulletเปลี่ยนหน้ากากจีน
bulletเปลี่ยนหน้ากาก*สากล*
bulletกายกรรม
bulletจักกลิ้ง(Juggling)
bulletละครใบ้ คนหน้าขาว
bulletDUO Entertainer
bulletหุ่นนิ่ง
bulletผลงานการแสดงล่าสุด
bulletติดต่อเรา
bulletกลับสู่หน้าแรก
dot
โชว์เปลี่ยนหน้ากาก
dot
bulletตรุษจีนเยาวราช 2018
bullet*มีคลิป* ตรุษจีนแสนหวาน 2013
bulletตรุษจีนเมืองเพชร 2012
dot
งานออกสื่อ
dot
bullet*ตู้เสกคน* รายการวิกสามยามบ่าย
bulletNews Variety TNN24
bulletคู่เม้าท์ คู่มันส์ My TV
bulletNice Daily Nice Channel
dot
ตัวตลกเยอะๆ หลายๆ ตัว
dot
bulletแถลงข่าวแกรมมี่วันเดอร์แลนด์
bulletงานแถลงข่าว 42 ปีช่อง 3
dot
เกร็ดความรู้ เรื่องมายากล
dot
bulletความเป็นมาของวิทยากลไทย
bulletอมตะมายากลในรอบ 100 ปี
bulletชมรมวิทยากลแห่งประเทศไทย




อมตะมายากลในรอบ 100 ปี

วาไรตี้ : อมตะมายากลในรอบ 100 ปี ปรากฏการณ์บนผืนแผ่นดินไทย

การแสดงเก่าแก่มีสีสันชวนติดตาม สร้างความสนุก สนานเพลิดเพลินเข้าถึงกลุ่มผู้ชมทุกเพศทุกวัย ที่สำคัญสามารถสร้างความประหลาดใจ ตามติดด้วยความทึ่ง ตะลึงในสิ่งที่เกิดขึ้นทุกครั้งเมื่อการแสดงจบลง...

ใช่แล้วนี่คือ มายากล ศาสตร์การแสดงที่เต็มไปด้วยความมหัศจรรย์ มีประวัติความเป็นมายาวนานและด้วยความอมตะของมายากลที่สามารถเปลี่ยนจินตนาการความฝันทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เสมือนหนึ่งว่าเป็นไปได้ด้วยเทคนิค ไหวพริบความสามารถของนักแสดง

มายากลจึงมีเสน่ห์ชวนติดตามตลอดมาทุกยุคสมัย โดยเฉพาะการแสดงมายากลไทยในรอบ 100 กว่าปีที่ผ่านมามีความเคลื่อนไหวเกิดขึ้นมากมาย และเมื่อไม่นานที่ผ่านมาภาพความพิศวงของมายากลได้ปรากฏขึ้นอีกครั้งที่ศูนย์สรรพสินค้าซีคอนสแควร์ ซึ่งครั้งนั้นได้รวมนำความมหัศจรรย์ของกลต่าง ๆ ที่เคยลือลั่นในอดีต ปัจจุบันมาเผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจมายากลได้ทำความรู้จัก

จากประวัติความเป็นมาของมายากลที่มีมายาวนาน หากย้อนกลับไปยังเส้นทางมายากลไทยในสมัยต่าง ๆ ชาลี ประจงกิจกุล นักแสดงมายากล เลขาชมรมวิทยากลสยามเมจิกกล่าวว่า มายากลไทยหรือวิทยากลไทยเริ่มเข้ามาในเมืองไทยเมื่อไหร่นั้นไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่จากที่ศึกษาประวัติศาสตร์เชื่อว่าน่าจะมีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยามาพร้อมกับการทำการค้ากับชาวต่างชาติ อาทิ โปรตุเกส ฮอลันดา จีน อินเดีย ฯลฯ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชซึ่งการแสดงครั้งนั้นเป็นกลเสกดอกไม้ หยิบของออกจากกระถาง ฯลฯ

ต่อจากนั้นมาไม่มีการบันทึกถึงเรื่องราวการแสดงกลอีก กระทั่งมาพบในเอกสารฉบับหนึ่งซึ่งบันทึกว่า มายากลไทยเริ่มมีมาแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 4 แต่รวมตัวก่อตั้งเป็นสมาคมในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยใช้ชื่อว่า สมาคมนักกลหลวง มีการจัดประกวดวิทยากล ประดิษฐ์อุปกรณ์เล่นกลรวมถึงระบุว่าใครเป็นคนประกวดได้รางวัลอะไร ใครได้ที่หนึ่ง สอง สาม ฯลฯ เช่นเดียวกับการแสดงกลสมัยนั้นเป็นกลอุปกรณ์ กลทางวิทยาศาสตร์ใช้น้ำยาเคมีเปลี่ยนน้ำเปล่าให้เป็นน้ำแดง เบียร์ เสกควันออกจากแก้ว ฯลฯ มากกว่าที่จะใช้ความคล่องแคล่วของมือนำเสนอกล

จากนั้นมาเรื่องราวของมายากลไทยได้ห่างหายไปจากบันทึกประวัติศาสตร์อีกครั้ง กระทั่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังสงครามโลกสงบลงมีการแสดงกลเข้ามา 3 สายได้แก่ สายอินเดีย จีน และ ยุโรป

“ในสายอินเดียการแสดงกลมีรูปแบบเป็นกลกลางแปลง เป็นกลที่แสดงในที่โล่ง ไม่มีเวที มีกลยอดนิยมอย่าง กลอับดุล ซึ่งจะให้ผู้ช่วยซึ่งนอนคลุมหน้าตอบคำถามเวลาที่ชี้ไปในกลุ่มผู้ชมอย่างให้ตอบว่าเป็นชายหรือหญิง ผมสั้นยาวอย่างไร รวมถึงทายเลขและสิ่งของที่ผู้ชมกำไว้ เช่นเดียวกับ กลเสกมะม่วง ซึ่งนำเอาเมล็ดมะม่วงไปปักดิน เอาผ้าคลุมไว้เมื่อเปิดออกแต่ละครั้งต้นมะม่วงก็จะโตขึ้น โตขึ้น กระทั่งเปิดออกครั้งสุดท้ายสามารถตัดผลเอามาให้คนที่มุงดูกินได้สร้างความฮือฮามาก ๆ นอกจากนี้ยังมีกลเรียกงู แทงคนในตะกร้าแสดงร่วมด้วยและทุกครั้งที่แสดงจบจะมีการขายสินค้า ขายยาโดยเฉพาะยาปลูกผม ปลูกหนวด ปลูกคิ้ว เป็นต้น

ขณะที่กลของจีนเรียกว่า กลปาหี่ ก่อนแสดงทุกครั้งจะตีกลอง ฉิ่ง ฉาบ รำมวย รำดาบเรียกผู้ชม มีกลที่มีสีสันอย่างยกเก้าอี้ด้วยดวงตา ค้อนปอนด์ทุบก้อนหินซึ่งวางบนหน้าท้องรวมถึงกลเสกหินให้เป็นกบ ฯลฯ สร้างความตื่นตาตื่นใจให้ผู้ชมและเมื่อแสดงเสร็จจะขายยา ไม่ว่าจะเป็นยารักษาโรค ยาแก้ปวดฟัน ส่วนกลยุโรปที่เข้ามาเป็นกลที่ไม่เปิดการแสดงเหมือนกลกลางแปลง แต่จะเข้ามาในรูปละครสัตว์มีวิทยากลเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงเท่านั้นและมักเปิดการ แสดงที่ย่าน วังบูรพา วังสราญรมย์ ฯลฯ สื่อออกไปในแนวอิทธิฤทธิ์ เวทมนตร์ แต่ปัจจุบันแนวคิดเหล่านี้เปลี่ยนไปทั้งในต่างประเทศและไทย”

จากนั้นมามายากลในปัจจุบันก็เริ่มคลี่คลายมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงหลังสงครามโลกเริ่มมีนักแสดงจากต่างประเทศเข้ามาแสดงในเมืองไทยมีทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย ญี่ปุ่นรวมทั้งฟิลิปปินส์ทำให้คนไทยได้เห็นรูปแบบการแสดงวิทยากลในรูปแบบ การแสดงบนเวที (stage magic) ซึ่งนักแสดงจะสวมใส่ชุดทักซิโด้ หยิบกระต่ายออกจากหมวก เสกนก เสกกระต่าย เสกคนลอย เสกช้างหายเครื่องบินมา ฯลฯ สร้างความพิศวงตื่นใจ

นอกจากกลเวทียังมีการแสดงกลแบบระยะใกล้ (Close up) ซึ่งเป็นกลที่มีสี สันมีเสน่ห์สร้างความเพลิดเพลินชวนติดตามไม่แพ้กัน กลประเภทนี้ได้แก่ กลเชือก กลไพ่ กลเหรียญฯ สำหรับกลอมตะได้รับการยอมรับตลอดกาลที่ผ่านมามีมากมาย อย่าง ถ้วย 3 ใบ (Cups and ball) ซึ่งมีอุปกรณ์ถ้วย 3 ใบและลูกบอล 3 ลูก เมื่อลูกบอลลูกหนึ่งใส่เข้าไปใต้ถ้วยเมื่อเปิดออกมาลูกบอลจะวิ่งไปอีกที่ และเมื่อเปิดถ้วยพร้อมกันลูกบอลทั้งหมดจะกลายเป็นแอปเปิ้ลบ้าง มะนาวบ้าง ส้มบ้างซึ่งกลนี้เล่นครั้งใดก็ยังคงสร้างความสนุกสนานถือเป็นหนึ่งในกลคลาสสิก

ที่สำคัญกลชุดนี้ยังเป็นอุปกรณ์กลชิ้นแรกของโลกซึ่งมีผู้พบภาพบนผนังถ้ำเมื่อ 4,000 กว่าปีที่อียิปต์ เช่นเดียวกับ ชุดห่วงเหล็ก ที่คล้องไปคล้องมา ต้นตำรับจากจีนถือเป็นมายากลคลาสสิกของโลกอีกชุดหนึ่งที่นักวิทยากลจะต้องแสดงได้ เป็นต้น

ขณะที่มายากลทั่วโลกมีรูปแบบ โดดเด่นเฉพาะตัว กลในเอเชียก็มีสีสันมี เอกลักษณ์เช่นกัน โดยเฉพาะกลจากจีน อินเดีย พม่า ส่วนมายากลไทยปัจจุบันได้รับการตอบรับเพิ่มมากขึ้น มีนักมายากลจำนวนไม่น้อยที่ไปสร้างชื่อเสียงในต่างประเทศ รวมถึงอุปกรณ์กลที่คนไทยผลิตขึ้นเองที่ผ่านมา ได้สร้างความฮือฮาในแวดวงมายากลต่างแดนโดยเฉพาะที่ประเทศญี่ปุ่น อย่าง บุคส์ ออฟ เมอร์ลิน หนังสือปกแข็งหนาประมาณครึ่งนิ้วเป็นหนังสือบาง ๆ ธรรมดา ๆ แต่พอเปิดออกมาไม่ว่าใส่อะไรลงไปก็จะกลายเป็นสิ่งนั้น เช่นเดียวกับ กระเป๋าเมาเมาวอลเล็ต กระเป๋าพกที่สามารถหยิบของขนาดใหญ่ อย่างแก้วและขวดออกมาได้

แม้อุปกรณ์กลจะช่วยสร้างสีสัน เติมความสนุกสนานให้กับการแสดง แต่การ แสดงกลไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เยอะหรือมี อุปกรณ์ราคาแพง อุปกรณ์ที่มีอยู่ทั่วไปสามารถนำมาเล่นกลได้ขอเพียงรู้จักและเข้าใจศาสตร์ แห่งกลซึ่งเป็นการแสดงที่มีศิลปะ มีเสน่ห์ อยู่ที่การทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เสมือนว่าเป็นไปได้ โดยใช้เทคนิคหลากหลายไม่ว่าจะเป็นการซ่อน บัง การแอบหรือการเบนความสนใจ

ที่สำคัญหัวใจของกลไม่ได้อยู่ที่ความลับ แต่อยู่ที่การฝึกฝนและการนำเสนอที่แนบเนียนแยบยล

และทั้งหมดนี้คือมายาแห่งกล ศาสตร์การแสดงที่มีสีสันพร้อมมอบความ สุขความเพลิดเพลินให้กับผู้ชมสัมผัสตลอดกาล

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.